โรคหอบ
หืด หลายคนอาจคิดว่าโรคนี้ไม่น่าจะอันตรายถึงชีวิต เพราะมีคนไทยป่วยกันมาก แค่ระมัดระวังไม่ให้ออกแรงมาก หรือทำงานหนักก็คงพอ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะประเมินความรุนแรงของโรคต่ำ คิดว่าใช้ยาพ่นก็สามารถรักษาได้ ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสในการรักษา
แต่แท้ที่จริงแล้วจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ป่วยโรคหอบหืด ประมาณ 300 ล้านคน ประเทศไทยมีผู้ป่วยประมาณ 3-5 ล้านคน เสียชีวิตปีละประมาณ 1000-3000 คนจำนวนที่เสียชีวิต 70% เพราะมาถึงโรงพยาบาลช้าเกินไป
รายงานของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ ล่าสุดปี พ.ศ. 2547-2550 พบผู้ป่วยโรคหอบหืดเข้ารักษาตามโรงพยาบาลทั้งหมด ประมาณ 2 แสนคน พบภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ
ผศ.น.พ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ อาจารย์ประจำหน่วยโรคภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสร์คณะแพทยศาสร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ที่หลอดลมจะไวต่อสิ่งแวดล้อม มีการระคายเคือง จนทำให้เกิดการอักเสพที่หลอดลม
บางท่านอาจเรียก โรคหืด ว่า โรคหอบ หอบหืด ความจริงแล้วผู้ที่มีอาการของโรคหืด กำเริบมักจะมีอาการหอบร่วมด้วย แต่บ่อยครั้งที่เวลามีอาการน้อยๆ
โรคหอบหืด คือ การหดตัวฃองกล้ามเนื้อของหลอดลมอย่างรุนแรง ทำให้หลอดลมตีบ มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก เหนื่อยเวลาหายใจ เมื่ออาการหนักขึ้นเวลาหายใจจะมีเสียงดังวี้ดๆ เมื่อเป็นมากจะเหนื่อยจนไม่สามารถหายใจเข้าออกได้ จนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตอย่างแยบพลัน
ผู้ป่วยโรคหอบหืด เจ็บคอง่ายกว่าคนทั่วไป และมีโอกาสติดเชิอแทรกซ้อนสูง โดยเฉพาะหากเป็นในเด็กเล็ก ผู้ป่วยมักจะเป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสพ และมีอาการหลอดลมอักเสพบ่อยๆ
ยิ่งในช่วงที่อากาศหนาวเย็นหรืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำคอ โพรงจมูก และระบบทางเดินหายใจ สามารถลุกล้ำเข้าสู่หลอดลมและลงปอดได้ง่าย โดยเพราะเชื้อแบคทีเรีย สเตรป โต-คอคคัส นิวโมเนียอี หรือนิวโมค็อกคัส ที่อาจทำให้เกิดอาการปอดบวม และอาจส่งผลรุนแรงหากได้รับการรักษาไม่ทัน โดยเชื้ออาจลุกลามสู่กระแสเลือด และสมอง ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไอพีดีได้ ซึ่งโรคติดเชื้อไอพีดี ก็คือโรคติดเชื้อ นิวโมค็อกคัสชนิดรุนแรง ที่มีอันตรายอาจทำให้เกิดการพิการและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบเนื่องจากพบเชื้อนี้อาศัยอยู่ในระบบทางเดินหายใจของเด็กเล็กต่ำกว่า 50%
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจะเป็นคนแก่ มากกว่าเด็ก เพราะมีโรคแทรกซ้อนเยอะ
ขณะนี้สถิติผู้ป่วยโรคหอบหืดได้เพิ่มขึ้นจำนวนมากทั่วโลก แต่ในต่างประเทศพบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหอบหืด มาจากการแพ้เกสรดอกไม้ ส่วนในประเทศไทย จะมาจากการแพ้ไรฝุ่นจากที่นอน ไรจากแมลงสาป ควันมลพิษทางอากาศ
สำหรับปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคได้ อาทิ จากสิ่งแวดล้อม จากไรฝุ่น มลพิษ ควันบุหรี่ ละอองเกสรและอากาศ สามารถทำให้เกิดโรคหอบหืดได้ทั้งสิ้น มักพบว่าอากาศชื้น ฤดูฝน ฤดูหนาว ผู้ป่วยโรคหอบหืด จะมีอาการมากกว่าปกติ
โรคหอบหืด เป็นโรคเรื้อรัง ต้องอาศัยการรักษาอย่างต่อเนื่อง พบว่าผู้ป่วย ที่เป็นโรคหอบหืดตั้งแต่ในวัยเด็ก ครึ่งหนึ่งจะมีโอกาสหายเป็นปกติ เมื่ออายุเข้าสู่ 10-18 ปี หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม เพราะจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน
บางคนมีความเชื่อและใช้ยาสมุนไพรในการรักษา ก็ต้องระมัดระวังและแน่ใจว่าเป็นยาสมุนไพรจริงๆ ไม่มีสเตียรอยด์ (Steroids) หรือ (Prednisolone) ผสม เพราะจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง ยาบางประเภทอาจทำให้อาการหอบหืด หายได้ชั่วคราวแต่มีโทษภายหลัง
กระทรวงสาธารณสุข ยังได้เตือนว่า ประชาชนบางกลุ่มที่มีความ เชื่อว่ากินหางจิ้งจกแล้วโรคจะหายได้นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ในหางจิ้งจกมีสรรพคุณรักษาโรคหอบ หืดได้แต่อย่างใด
การรักษาโรคหืด จะต้องทำอย่างต่อเนื่องสิ่งที่สำ คัญที่สุดเมื่อเกิดอาการหอบ จนหายใจลำบากแม้จะใช้ยาพ่นแล้วก็ตาม ควรจะรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที เพราะอาจทำให้หลอดลมตีบจนไม่สามารถหายใจได้ จนทำให้หัวใจล้มเหลวในที่สุด
ระวังเฝ้าสังเกตุอาการไว้ก่อน จะได้ไม่ต้องเสียใจในภายหลัง